ไขมันพอกตับ บ่อเกิดโรคอันตราย..ไม่ดื่มสุราก็เป็นได้ !

โรคไขมันเกาะตับ หรือ ไขมันพอกตับ คือ ภัยเงียบอันตรายที่หลายคนกำลังเป็นแต่ยังไม่รู้ตัว และไม่ได้ใส่ใจเพราะเห็นว่ายังไม่มีอาการรุนแรงอะไร แต่หากปล่อยเอาไว้สามารถกลายเป็นตับแข็ง หรือมะเร็งตับได้เลยทีเดียว ซึ่งการเป็นโรคนี้ เกิดได้จากทั้งการดื่ม และไม่ได้ดื่มแอลกอฮอล์ โดยผู้ที่มีภาวะไขมันสะสมในตับ จะมีการสะสมไขมันอยู่ในรูปของไตรกลีเซอไรด์ โดยเมื่อไขมันคั่งอยู่ในตับมากเข้า ก็ทำให้เกิดอาการอักเสบในตับร่วมด้วยได้

คุณอยู่ในกลุ่มเสี่ยงเป็นไขมันพอกตับอยู่หรือเปล่า ? >> เช็คเลย << 

สารบัญ

  1. สาเหตุของการเกิดโรคไขมันพอกตับ
  2. ไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากการดื่มสุรา (NAFLD) คืออะไร ?
  3. การแบ่งระยะของภาวะไขมันพอกตับ
  4. พฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค
  5. ตรวจเช็คอาการว่าเราอยู่ในภาวะไขมันพอกตับหรือไม่
  6. วิธีรักษาไขมันพอกตับ

สาเหตุของการเกิดโรคไขมันพอกตับ

การเกิดไขมันพอกตับสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

  • ไขมันพอกตับที่เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ (Alcoholic Fatty Liver Disease) โดยจะส่งผลตามระยะเวลา และปริมาณที่เราได้ดื่มเข้าไป หากสะสมในปริมาณมากสามารถส่ผลให้เป็นตับแข็ง หรือถึงขั้นมะเร็งตับได้
  • ไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากการแอลกอฮอล์ (Non-Alcoholic Fatty Liver Disease) หรือตัวย่อคือ NAFLD ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ซึ่งอาจจะมาจากโรคประจำตัว หรือพฤติกรรมบางประการ เช่น การทานของทอด ของมัน อาหารจำพวกที่มีไขมันสูง หรือดื่มเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลเป็นส่วนผสมในปริมาณมาก

ไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากการดื่มสุรา (NAFLD) คืออะไร ?

หลายคนอาจจะเคยได้ยินกันมาจนชินกูว่า การดื่มสุรา เหล้า เบียร์ ย่อมส่งผลอันตรายโดยตรงต่อตับ แต่ใครที่ไม่ได้ติดสุราก็อย่าเพิ่งชะล่าใจ เพราะแท้จริงแล้วคนส่วนใหญ่ก็เป็นไขมันพอกตับ ชนิด NAFLD กันเยอะเช่นกัน โดยจากผลสำรวจในอเมริกา พบว่าผู้ใหญ่ถึง 1 ใน 4 จะมีภาวะไขมันแทรกในตับ ซึ่งจะไม่ออกอาการอะไรให้เห็นมากนัก และนี่จะเป็นจุดเริ่มต้นของภัยร้ายที่ยากจะแก้ไขเมื่อรู้ตัวในตอนที่สายไป รวมถึงกระทรวงสาธารณสุขเองก็ออกมาประกาศด้วยว่า โรคมะเร็ง นับว่าเป็นโรคอันดับหนึ่งที่คร่าชีวิตคนไทย และ “มะเร็งตับ” ก็ติด 1 ใน 5 อันดับแรก ที่พรากชีวิตคนไทยเราไปอีกด้วย

และด้วยวิถีชีวิตของคนเราในปัจจุบันทั้งต้องทำงานหนัก พักผ่อนน้อย ทั้งยังมีความเครียดจากปัญหาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นจากการทำงาน ปัญหาครอบครัว เพื่อนฝูง รวมไปถึงในยุคที่ชานมไข่มุก รวมพลังกับบุฟเฟ่ต์ปิ้งย่างพากันบูมขนาดนี้.. จึงไม่น่าแปลกใจที่คนส่วนใหญ่จะเก็บเจ้าภัยเงียบนี้ไว้กับตัว

การแบ่งระยะของ ภาวะไขมันพอกตับ

สำหรับการดำเนินโรคของภาวะไขมันพอกตับ จะแบ่งออกได้เป็น 4 ระยะ ได้แก่

  1. ระยะแรก หรือระยะเริ่มต้น  เป็นระยะที่มีการสะสมไขมันอยู่ในตับ ซึ่งจะยังไม่ได้ก่อให้เกิดการอักเสบในตับ หรือยังไม่มีพังผืดเกิดขึ้น
  2. ระยะที่สอง เป็นระยะที่ก่อให้ เกิดการอักเสบของตับ และเริ่มมีการสะสมของพังผืด โดยหากอยู่ในระยะนี้แล้วไม่ดูแล ฟื้นฟูบำรุงตับให้ดี ปล่อยให้ไขมันเกาะสะสมที่ตับเรื้อรัง มากกว่า 6 เดือน ก็สามารถทำให้ตับเกิดอาการอักเสบเรื้อรัง ซึ่งจะเข้าสู่ระยะอันตรายได้ในอนาคต
  3. ระยะที่สาม เป็นระยะที่ตับจะเกิดการอักเสบ และพังผืดจะสะสมอยู่ในตับอย่างชัดเจน เซลล์ตับเองก็จะถูกทำลายลงไปเรื่อย ๆ
  4. ระยะที่สี่ เป็นระยะที่ตับจะเต็มไปด้วยพังผืด เริ่มตับแข็ง และมีอาการต่าง ๆ ที่เกิดจากตับทำงานผิดปกติแสดงออกมา เช่น ท้องโตมีน้ำในช่องท้อง ตาเหลือง จนลายเป็นมะเร็งตับในท้ายที่สุด

พฤติกรรมเสี่ยง ที่ทำให้เกิดโรค

✓ ชอบทานของทอด ของมัน
✓ ติดของหวาน ไม่ว่าจะเป็นอาหาร หรือเครื่องดื่ม
✓ มีการดื่มแอลกอฮอล์
✓ ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย
✓ ไม่ทานอาหารเช้า
✓ นอนดึก พักผ่อนน้อย
✓ มีการนั่งอยู่กับที่นาน ๆ ไม่ว่าจะนั่งทำงาน หรือทำงานอดิเรก
✓ ทานยาเข้าไปในปริมาณมาก
✓ ข้องเกี่ยวกับสารพิษ หรือสารเคมีในชีวิตประจำวัน

พฤติกรรมเหล่านี้ ล้วนทำลายตับเราและทำให้เกิดไขมันเกาะตับได้ไม่ยาก หากเคยทำพฤติกรรมข้างต้น ไม่ว่าจะอย่างไหน..ควรพึงระวังไว้ว่าเราอยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่สามารถเป็นไขมันพอกตับได้ รวมถึงอาจจะเป็นมานานแล้วแต่ยังไม่ได้ตระหนัก หากบำรุงรักษาให้ดีตั้งแต่วันนี้ เจ้าโรคที่เป็นภัยเงียบคร่าชีวิตเราโดยไม่รู้ตัวนี้ ก็สามารถหายไปได้

ถึงแม้ในระยะเริ่มต้น โรคไขมันพอกตับ จะไม่แสดงอาการรุนแรงอะไรให้เราเห็นมากนัก แต่ตับก็จะส่งสัญญาณเล็ก ๆ น้อย ๆ ซึ่งหลายคนอาจเผลอมองข้าม และละเลยสัญญาณที่ตับส่งเสียงร้องขอความช่วยเหลือนี้ออกมา โดยเราสามารถเช็คสัญญาณเสี่ยงเป็นภาวะไขมันพอกตับได้ ดังนี้

ตรวจเช็คอาการว่าเราอยู่ใน ภาวะไขมันพอกตับ หรือไม่

☑ คุณมีอาการเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย
☑ มีปัญหาในการนอนหลับ หลับไม่สนิทบ้าง หลับยากบ้าง
☑ อาหารไม่ย่อย ท้องอืดบ่อย ๆ
☑ ปวดจุกแน่นที่ชายโครงขวา
☑ ความอยากอาหารลดลง
☑ ความสามารถในการตัดสินใจและสมาธิลดลง

หากคุณมีอาการ 1 ใน 6 ข้อนี้ ควรรีบปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต หรือหาตัวช่วยมาบำรุงตับโดยด่วน เพราะหากนิ่งนอนใจปล่อยไว้ จะได้รู้ตัวอีกทีก็ตอนที่เข้าสู่ภาวะรุนแรงอย่างตอนเป็นตับแข็ง หนือมะเร็งตับไปเรียบร้อยแล้ว ซึ่งเมื่อวันนั้นมาถึงก็อาจจะสายเกินไปที่จะหันมาใส่ใจ “ตับ” อวัยวะหนึ่งเดียวที่สำคัญไม่แพ้หัวใจ หรือ สมอง อีกหนึ่งอวัยวะที่ไม่มีใครทำหน้าที่แทนได้

เมื่อเราไม่อยากให้ตับพัง จนดับชีวิตเราไปด้วย.. ก็ต้องหาวิธีสลายไขมันพอกตับออกไป ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี และสารพัดวิธีเหล่านั้น ล้วนมีความยากง่ายที่ต่างกันไป ขึ้นอยู่ว่าใครถนัดวิธีไหน ลองเลือกปฏิบัติตามวิธีดังนี้ได้เลย

วิธีรักษาไขมันพอกตับ

(1) ออกกำลังกาย

มีงานวิจัยบอกไว้ว่าหากผู้ที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ลดน้ำหนักได้ 10% จากน้ำหนักตัว จะช่วยลดไขมันที่เกาะตับอยู่ได้ แต่การลดน้ำหนักที่ได้ประสิทธิภาพ จะลดเร็วเกินไปไม่ได้ เพราะฉะนั้นการออกกำลังกายให้หมาะสม คืออีกหนึ่งวิธีที่พาเราไปถึงเป้าหมายการลดไขมันพอกตับได้เช่นกัน

สิ่งสำคัญคือ วินัย และความมุ่งมั่น โดยเราควรออกกำลังกายให้ได้ 150 นาที/สัปดาห์ หรือสำหรับมือใหม่ที่เพิ่งหันมารักษาสุขภาพ อย่างน้อยที่สุดควรให้ได้ 60 นาที/สัปดาห์ ก็ช่วยลดะดับไขมัน รวมถึงคอเลสเตอรอลในเลือดได้

(2) คุมอาหาร

อย่างที่รู้กันดีว่า การทานอาหารที่มีไขมันสูง ย่อมทำให้เกิดภาวะไขมันเกาะตับได้ การคุมอาหารจึงเป็นอาวุธสำคัญที่ใช้พิชิตเจ้าโรคนี้ได้ โดยหลักสำคัญ คือ

– กินให้พลังงานเหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย
– ปริมาณของไขมันอิ่มตัวที่ได้รับต้องไม่เกิน 7% ของพลังงานรวมต่อหนึ่งวัน
– ได้รับกากใยอาหาร 14 กรัม ต่อการใช้พลังงาน 1,000 kcal / วัน

รวมถึงควรทานอาหารให้ครบ 3 มื้อ หากเป็นไปได้ ในส่วนของแป้ง ให้เลือกข้าวแป้งไม่ขัดสี และเนื้อสัตว์เน้นไปที่เนื้อปลา หรือเนื้อไก่ แทนพวกเนื้อสีแดง (อย่างเนื้อหมู หรือเนื้อวัว) เพื่อลดปริมาณไขมันอิ่มตัวที่จะได้รับ นอกจากนี้ควรมีผักประกอบในทุกมื้ออาหาร สำหรับน้ำมันที่ใช้ในการประกอบอาหารควรเป็นจำพวก น้ำมันรำข้าว หรือน้ำมันมะกอก และสุดท้ายที่สำคัญที่สุดต้องแข็งใจงดขนมจุบจิบ ของหวาน มัน ทอด และเครื่องดื่มหวาน ๆ ให้ได้ก็จะยิ่งห่างไกลจากไขมันเกาะตับได้มากขึ้น

(3) หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

วิธีนี้อาจจะไม่ยาก หากเราไม่ได้ติดแอลกอฮอล์ หรืออยากดื่มเป็นประจำ แต่ผู้รักการดื่มก็อาจจะเป็นวิธีที่วัดความอดทนของจิตใจเป็นอย่างยิ่ง ที่จำเป็นต้องหลีกเลี่ยงเลยก็เพราะเมือแอลกอฮอล์เข้าสู่ร่างกาย จะกลายเป็นสารพิษและสารอนุมูลอิสระ ทำให้ตับอักเสบและทำร้ายเซลล์ให้เสียหาย จึงมีโอกาสอย่างมากที่จะเป็นไขมันพอกตับเรื้อรัง หรือตับอักเสบจนไปสู่การเป็นตับแข็ง

แต่หากจนแล้วจนรอดอดดื่มไม่ไหว แนะนำให้หาตัวช่วยในการล้างพิษออกจากตับ เพื่อชะลอความเสื่อมโทรมของสุขภาพตับ จากพฤติกรรมที่ทำร้ายตับโดยตรง อย่างพรูนัส มูเม่ หรือวิตามินอี เป็นต้น

(4) ทานตัวช่วยบำรุงที่ได้มาตรฐาน

อีกหนึ่งวิธีที่เรียกได้ว่าง่ายกว่าวิธีอื่น ๆ คือการหาตัวช่วยบำรุงตับ ซึ่งอาจจะมีอยู่มากมายในท้องตลาด แต่ด้วยความที่อาหารเสริมบำรุงเหล่านี้มีให้เลือกเยอะแยะไปหมด จึงจำเป็นต้องพิถีพิถันใส่ใจในการเลือกให้ดีเพราะจากที่ตับเราจะฟื้นฟู มีสุขภาพตับดีขึ้น จะกลายเป็นทำร้ายตับได้แทน โดยปัจจัยสำคัญที่ต้องพิจารณา คือ

ต้องผลิตจากวัตถุดิบที่ช่วยลดไขมันที่แทรกอยู่ในตับได้ หรือเป็นสารสกัดจากธรรมชาติที่ช่วยบำรุงฟื้นฟูตับ ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ พร้อมทั้งมีมาตรฐานในการผลิตที่เชื่อถือได้ เพื่อไม่ให้ทิ้งสารตกค้างในร่างกาย หรือสร้างภาระให้ตับเพิ่มขึ้นแทน
มีงานวิจัยทางการแพทย์รองรับว่าเห็นผลได้จริง และงานวิจัยนั้นต้องมีความน่าเชื่อถือในระดับสากล
✓ ปริมาณที่ทานต่อวันไม่จำเป็นต้องทานเยอะ แต่ร่างกายดูดซึมไปใช้ได้อย่างเต็มที่
✓ ทานต่อเนื่องได้ปลอดภัย โดยไม่เกิดผลข้างเคียงที่อันตรายต่อร่างกาย

สรุป

ไขมันพอกตับ ถือเป็นภัยเงียบที่น่ากลัว เพราะกว่าจะแสดงอาการที่ชัดเจนให้เรารู้ก็อยู่ในขั้นภาวะรุนแรง ในช่วงเป็นตับแข็ง หรือมะเร็งตับไปเสียแล้ว.. สิ่งสำคัญคือเริ่มพฤติกรรมบำรุงตับด้วยตัวเองตั้งแต่วันนี้ เลือกทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพอย่างผัก ผลไม้ที่มีกากใย พรูนัส มูเม่ หรืออาหารที่ไม่มีไขมันสูง พร้อมหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่จะทำร้ายตับเราให้ได้มากที่สุด

รวมถึงหันใส่ใจสุขภาพ “ตับ” อวัยวะปิดทองหลังพระที่คุณมองไม่เห็น แต่มันก็คอยทำทุกอย่างให้คุณ ทั้งคอยสร้าง คอยซ่อม ควบคุม เก็บกัก และ ขับของเสีย ออกจากร่างกาย

ตับดี=สุขภาพโดยรวมที่ดี ยิ่งรู้ตัวเร็วและดูแลตับได้ไวเท่าไหร่ ก็ห่างไกลจากโรคร้ายที่คร่าชีวิตเราได้มากขึ้นเท่านั้น และนี่คือสิ่งดี ๆ ที่อยากบอกต่อสำหรับผู้ที่สนใจดูแลตับ คุณสามารถขอคำปรึกษาปัญหาสุขภาพกันได้ฟรี ๆ ที่ Fanpage และ Line@ ของเฮฟฟีก้า ซึ่งจะมีทีมผู้เชี่ยวชาญและเภสัชกรคอยให้คำแนะนำที่มีประโยชน์ ให้ตับเรามีสุขภาพแข็งแรงอยู่สม่ำเสมอ

ระยะของไขมันพอกตับ
As you can see, once there's enough text in this box, the box will grow scroll bars... that's why we call it a scroll box! You could also place an image into the scroll box. As you can see, once there's enough text in this box, the box will grow scroll bars... that's why we call it a scroll box! You could also place an image into the scroll box. As you can see, once there's enough text in this box, the box will grow scroll bars... that's why we call it a scroll box! You could also place an image into the scroll box. As you can see, once there's enough text in this box, the box will grow scroll bars... that's why we call it a scroll box! You could also place an image into the scroll box. As you can see, once there's enough text in this box, the box will grow scroll bars... that's why we call it a scroll box! You could also place an image into the scroll box. As you can see, once there's enough text in this box, the box will grow scroll bars... that's why we call it a scroll box! You could also place an image into the scroll box.