อ่อนแรง หรือแค่ไม่อยากจะทำอะไร..หาคำตอบรักษาให้ถูกจุด

อ่อนแรง

อาการ อ่อนเพลีย ใครต่างก็เคยเป็น..แต่อาการเหนื่อยล้า อ่อนแรง ที่ว่าใช่เพลียจริง หรือแค่เราไม่อยากจะทำอะไร (ภาษาบ้าน ๆ คือขี้เกียจนั่นเอง) กันแน่ ลองมาหาคำตอบเพื่อรักษาโรคที่ว่าให้หายอย่างถูกจุดกันดีกว่า

ง่วงนอน

อ่อนแรง อ่อนเพลีย มีอาการเป็นอย่างไร ?

อาการเหนื่อยอ่อนแรง เพลียบ่อย ๆ ส่วนใหญ่จะเป็นอาการเรื้อรังที่แสดงออกมาเป็นประจำในช่วงเวลา 1-3 เดือน โดยสาเหตุมาจากสิ่งที่ใครหลายคนคาดไม่ถึงนั่นคือ “ตับ” ที่กำลังทำงานผิดปกติ โดยสามารถสังเกตอาการคร่าว ๆ ได้ดังนี้

– รู้สึกนอนไม่พออยู่ตลอดเวลา หรือนอนหลับแล้ว แต่เหมือนนอนได้ไม่เต็มอิ่ม
– รู้สึกไม่มีแรงใจทำกิจกรรมต่าง ๆ
– ท้องอืด บางครั้งหิวตลอดเวลา หรืออาจจะไม่รู้สึกอยากกินอะไรแทน

แล้ว “ตับ” ที่ทำงานได้ไม่เต็มที่ ส่งผลให้เรารู้สึก อ่อนเพลีย ได้อย่างไร ?
ก็เนื่องด้วยเจ้าอวัยวะตับ มีหน้าที่สะสมสารอาหารต่าง ๆ แล้วดึงมาใช้เมื่อยามที่ร่างกายต้องการผ่านกระบวนการแปรรูปอย่างเช่น เปลี่ยนน้ำตาลกลูโคสเป็นไกลโคเจนเพื่อให้เก็บไว้ในตับได้ เมื่อใดที่ร่างกายต้องการพลังงาน ตับก็จะแปรรูปเจ้าไกลโคเจนที่ว่ากลับไปเป็นกลูโคสและส่งให้ร่างกายนำไปใช้เป็นพลังงาน ซึ่งกระบวนการหากตับเราอ่อนแอ ทำงานผิดปกติ ระบบที่ว่าย่อมชะงักตามไป จึงไม่น่าแปลกใจที่ร่างกายจะแสดงออกถึงการอ่อนเพลีย ส่วนอาการไม่อยากจะทำอะไร หรือขี้เกียจ เป็นแค่ความรู้สึกที่เกิดมาวูบหนึ่ง เช่น นอนแล้วไม่อยากตื่น อยากนอนต่อไปเรื่อย ๆ หรือทานอาหารอิ่มแล้วไม่อยากจะทำอะไร ไม่พร้อมที่จะเขยื้อนตัวไปไหน โดยอาจจะเผลอยกเลิกกิจกรรมที่วางแผนไว้ แต่เมื่อผ่านไปสักพักนึง ร่างกายได้ตื่นตัวเต็มที่ความรู้สึกไม่อยากทำอะไรที่ว่านี่ก็จะหายไปได้เอง

วิธีแก้อาการ อ่อนแรง อ่อนเพลีย 

เมื่อรู้แล้วว่าอาการอ่อนล้า เหนื่อย เพลีย ที่เป็นอยู่สาเหตุมาจากตับที่ทำงานได้ผิดปกติ เราก็มาบำรุงรักษาตับให้กลับมามีสุขภาพดี เพื่อให้อาการอ่อนเพลียดีขึ้นได้ ดังนี้

(1) พักผ่อนให้เพียงพอ เพราะช่วงเวลาแห่งการนอนร่างกายจะซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ รวมถึงตับเองก็ได้มีเวลาฟื้นฟูตัวเอง
(2) หลีกเลี่ยงของทอด ของมัน อาหารที่มีไขมันสูง ย่อยยาก
(3) รับประทานผัก ผลไม้ และอาหารที่มีกากใย
(4) ดื่มน้ำเยอะ ๆ ประมาณ 8-10 แก้วต่อวัน เพื่อให้ร่างกายได้สดชื่น กระปรี้กระเปร่า
(5) หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพราะจะส่งผลเสียโดยตรงต่อตับ
(6) ทานยาบำรุงตับเสริม โดยก่อนจะใช้ต้องพึงเช็คสักนิดว่ามีคุณภาพและมีงานวิจัยการันตีน่าเชื่อถือแค่ไหน โดยส่วนผสมที่ใช้ก็ควรมีกลไกที่ช่วยในการลดไขมันที่เกาะตับได้ เช่น สารสกัดจากธรรมชาติอย่างพรูนัส มูเม่ หรือวิตามินอี เป็นต้น

ในส่วนของการขี้เกียจ ไม่อยากทำอะไร อาจจะไม่ใช่อาการที่น่าเป็นห่วงสักเท่าไหร่ แต่อย่าเผลอเป็นบ่อยจนชินแล้วติดเป็นนิสัย อาจจะกลายเป็นอุปสรรคในการทำงาน หรือการใช้ชีวิตประจำวันเอาได้