ไขมันพอกตับ บ่อเกิดโรคอันตราย..ไม่ดื่มสุราก็เป็นได้ !

โรคไขมันเกาะตับ หรือ ไขมันพอกตับ คือ ภัยเงียบอันตรายที่หลายคนกำลังเป็นแต่ยังไม่รู้ตัว และไม่ได้ใส่ใจเพราะเห็นว่ายังไม่มีอาการรุนแรงอะไร แต่หากปล่อยเอาไว้สามารถกลายเป็นตับแข็ง หรือมะเร็งตับได้เลยทีเดียว ซึ่งการเป็นโรคนี้ เกิดได้จากทั้งการดื่ม และไม่ได้ดื่มแอลกอฮอล์ โดยผู้ที่มีภาวะไขมันสะสมในตับ จะมีการสะสมไขมันอยู่ในรูปของไตรกลีเซอไรด์ โดยเมื่อไขมันคั่งอยู่ในตับมากเข้า ก็ทำให้เกิดอาการอักเสบในตับร่วมด้วยได้

คุณอยู่ในกลุ่มเสี่ยงเป็นไขมันพอกตับอยู่หรือเปล่า ? >> เช็คเลย << 

สารบัญ

  1. สาเหตุของการเกิดโรคไขมันพอกตับ
  2. ไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากการดื่มสุรา (NAFLD) คืออะไร ?
  3. การแบ่งระยะของภาวะไขมันพอกตับ
  4. พฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค
  5. ตรวจเช็คอาการว่าเราอยู่ในภาวะไขมันพอกตับหรือไม่
  6. วิธีรักษาไขมันพอกตับ

สาเหตุของการเกิดโรคไขมันพอกตับ

การเกิดไขมันพอกตับสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

  • ไขมันพอกตับที่เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ (Alcoholic Fatty Liver Disease) โดยจะส่งผลตามระยะเวลา และปริมาณที่เราได้ดื่มเข้าไป หากสะสมในปริมาณมากสามารถส่ผลให้เป็นตับแข็ง หรือถึงขั้นมะเร็งตับได้
  • ไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากการแอลกอฮอล์ (Non-Alcoholic Fatty Liver Disease) หรือตัวย่อคือ NAFLD ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ซึ่งอาจจะมาจากโรคประจำตัว หรือพฤติกรรมบางประการ เช่น การทานของทอด ของมัน อาหารจำพวกที่มีไขมันสูง หรือดื่มเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลเป็นส่วนผสมในปริมาณมาก

ไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากการดื่มสุรา (NAFLD) คืออะไร ?

หลายคนอาจจะเคยได้ยินกันมาจนชินกูว่า การดื่มสุรา เหล้า เบียร์ ย่อมส่งผลอันตรายโดยตรงต่อตับ แต่ใครที่ไม่ได้ติดสุราก็อย่าเพิ่งชะล่าใจ เพราะแท้จริงแล้วคนส่วนใหญ่ก็เป็นไขมันพอกตับ ชนิด NAFLD กันเยอะเช่นกัน โดยจากผลสำรวจในอเมริกา พบว่าผู้ใหญ่ถึง 1 ใน 4 จะมีภาวะไขมันแทรกในตับ ซึ่งจะไม่ออกอาการอะไรให้เห็นมากนัก และนี่จะเป็นจุดเริ่มต้นของภัยร้ายที่ยากจะแก้ไขเมื่อรู้ตัวในตอนที่สายไป รวมถึงกระทรวงสาธารณสุขเองก็ออกมาประกาศด้วยว่า โรคมะเร็ง นับว่าเป็นโรคอันดับหนึ่งที่คร่าชีวิตคนไทย และ “มะเร็งตับ” ก็ติด 1 ใน 5 อันดับแรก ที่พรากชีวิตคนไทยเราไปอีกด้วย

และด้วยวิถีชีวิตของคนเราในปัจจุบันทั้งต้องทำงานหนัก พักผ่อนน้อย ทั้งยังมีความเครียดจากปัญหาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นจากการทำงาน ปัญหาครอบครัว เพื่อนฝูง รวมไปถึงในยุคที่ชานมไข่มุก รวมพลังกับบุฟเฟ่ต์ปิ้งย่างพากันบูมขนาดนี้.. จึงไม่น่าแปลกใจที่คนส่วนใหญ่จะเก็บเจ้าภัยเงียบนี้ไว้กับตัว

การแบ่งระยะของ ภาวะไขมันพอกตับ

สำหรับการดำเนินโรคของภาวะไขมันพอกตับ จะแบ่งออกได้เป็น 4 ระยะ ได้แก่

  1. ระยะแรก หรือระยะเริ่มต้น  เป็นระยะที่มีการสะสมไขมันอยู่ในตับ ซึ่งจะยังไม่ได้ก่อให้เกิดการอักเสบในตับ หรือยังไม่มีพังผืดเกิดขึ้น
  2. ระยะที่สอง เป็นระยะที่ก่อให้ เกิดการอักเสบของตับ และเริ่มมีการสะสมของพังผืด โดยหากอยู่ในระยะนี้แล้วไม่ดูแล ฟื้นฟูบำรุงตับให้ดี ปล่อยให้ไขมันเกาะสะสมที่ตับเรื้อรัง มากกว่า 6 เดือน ก็สามารถทำให้ตับเกิดอาการอักเสบเรื้อรัง ซึ่งจะเข้าสู่ระยะอันตรายได้ในอนาคต
  3. ระยะที่สาม เป็นระยะที่ตับจะเกิดการอักเสบ และพังผืดจะสะสมอยู่ในตับอย่างชัดเจน เซลล์ตับเองก็จะถูกทำลายลงไปเรื่อย ๆ
  4. ระยะที่สี่ เป็นระยะที่ตับจะเต็มไปด้วยพังผืด เริ่มตับแข็ง และมีอาการต่าง ๆ ที่เกิดจากตับทำงานผิดปกติแสดงออกมา เช่น ท้องโตมีน้ำในช่องท้อง ตาเหลือง จนลายเป็นมะเร็งตับในท้ายที่สุด

พฤติกรรมเสี่ยง ที่ทำให้เกิดโรค

✓ ชอบทานของทอด ของมัน
✓ ติดของหวาน ไม่ว่าจะเป็นอาหาร หรือเครื่องดื่ม
✓ มีการดื่มแอลกอฮอล์
✓ ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย
✓ ไม่ทานอาหารเช้า
✓ นอนดึก พักผ่อนน้อย
✓ มีการนั่งอยู่กับที่นาน ๆ ไม่ว่าจะนั่งทำงาน หรือทำงานอดิเรก
✓ ทานยาเข้าไปในปริมาณมาก
✓ ข้องเกี่ยวกับสารพิษ หรือสารเคมีในชีวิตประจำวัน

พฤติกรรมเหล่านี้ ล้วนทำลายตับเราและทำให้เกิดไขมันเกาะตับได้ไม่ยาก หากเคยทำพฤติกรรมข้างต้น ไม่ว่าจะอย่างไหน..ควรพึงระวังไว้ว่าเราอยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่สามารถเป็นไขมันพอกตับได้ รวมถึงอาจจะเป็นมานานแล้วแต่ยังไม่ได้ตระหนัก หากบำรุงรักษาให้ดีตั้งแต่วันนี้ เจ้าโรคที่เป็นภัยเงียบคร่าชีวิตเราโดยไม่รู้ตัวนี้ ก็สามารถหายไปได้

ถึงแม้ในระยะเริ่มต้น โรคไขมันพอกตับ จะไม่แสดงอาการรุนแรงอะไรให้เราเห็นมากนัก แต่ตับก็จะส่งสัญญาณเล็ก ๆ น้อย ๆ ซึ่งหลายคนอาจเผลอมองข้าม และละเลยสัญญาณที่ตับส่งเสียงร้องขอความช่วยเหลือนี้ออกมา โดยเราสามารถเช็คสัญญาณเสี่ยงเป็นภาวะไขมันพอกตับได้ ดังนี้

ตรวจเช็คอาการว่าเราอยู่ใน ภาวะไขมันพอกตับ หรือไม่

☑ คุณมีอาการเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย
☑ มีปัญหาในการนอนหลับ หลับไม่สนิทบ้าง หลับยากบ้าง
☑ อาหารไม่ย่อย ท้องอืดบ่อย ๆ
☑ ปวดจุกแน่นที่ชายโครงขวา
☑ ความอยากอาหารลดลง
☑ ความสามารถในการตัดสินใจและสมาธิลดลง

หากคุณมีอาการ 1 ใน 6 ข้อนี้ ควรรีบปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต หรือหาตัวช่วยมาบำรุงตับโดยด่วน เพราะหากนิ่งนอนใจปล่อยไว้ จะได้รู้ตัวอีกทีก็ตอนที่เข้าสู่ภาวะรุนแรงอย่างตอนเป็นตับแข็ง หนือมะเร็งตับไปเรียบร้อยแล้ว ซึ่งเมื่อวันนั้นมาถึงก็อาจจะสายเกินไปที่จะหันมาใส่ใจ “ตับ” อวัยวะหนึ่งเดียวที่สำคัญไม่แพ้หัวใจ หรือ สมอง อีกหนึ่งอวัยวะที่ไม่มีใครทำหน้าที่แทนได้

เมื่อเราไม่อยากให้ตับพัง จนดับชีวิตเราไปด้วย.. ก็ต้องหาวิธีสลายไขมันพอกตับออกไป ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี และสารพัดวิธีเหล่านั้น ล้วนมีความยากง่ายที่ต่างกันไป ขึ้นอยู่ว่าใครถนัดวิธีไหน ลองเลือกปฏิบัติตามวิธีดังนี้ได้เลย

วิธีรักษาไขมันพอกตับ

(1) ออกกำลังกาย

มีงานวิจัยบอกไว้ว่าหากผู้ที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ลดน้ำหนักได้ 10% จากน้ำหนักตัว จะช่วยลดไขมันที่เกาะตับอยู่ได้ แต่การลดน้ำหนักที่ได้ประสิทธิภาพ จะลดเร็วเกินไปไม่ได้ เพราะฉะนั้นการออกกำลังกายให้หมาะสม คืออีกหนึ่งวิธีที่พาเราไปถึงเป้าหมายการลดไขมันพอกตับได้เช่นกัน

สิ่งสำคัญคือ วินัย และความมุ่งมั่น โดยเราควรออกกำลังกายให้ได้ 150 นาที/สัปดาห์ หรือสำหรับมือใหม่ที่เพิ่งหันมารักษาสุขภาพ อย่างน้อยที่สุดควรให้ได้ 60 นาที/สัปดาห์ ก็ช่วยลดะดับไขมัน รวมถึงคอเลสเตอรอลในเลือดได้

(2) คุมอาหาร

อย่างที่รู้กันดีว่า การทานอาหารที่มีไขมันสูง ย่อมทำให้เกิดภาวะไขมันเกาะตับได้ การคุมอาหารจึงเป็นอาวุธสำคัญที่ใช้พิชิตเจ้าโรคนี้ได้ โดยหลักสำคัญ คือ

– กินให้พลังงานเหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย
– ปริมาณของไขมันอิ่มตัวที่ได้รับต้องไม่เกิน 7% ของพลังงานรวมต่อหนึ่งวัน
– ได้รับกากใยอาหาร 14 กรัม ต่อการใช้พลังงาน 1,000 kcal / วัน

รวมถึงควรทานอาหารให้ครบ 3 มื้อ หากเป็นไปได้ ในส่วนของแป้ง ให้เลือกข้าวแป้งไม่ขัดสี และเนื้อสัตว์เน้นไปที่เนื้อปลา หรือเนื้อไก่ แทนพวกเนื้อสีแดง (อย่างเนื้อหมู หรือเนื้อวัว) เพื่อลดปริมาณไขมันอิ่มตัวที่จะได้รับ นอกจากนี้ควรมีผักประกอบในทุกมื้ออาหาร สำหรับน้ำมันที่ใช้ในการประกอบอาหารควรเป็นจำพวก น้ำมันรำข้าว หรือน้ำมันมะกอก และสุดท้ายที่สำคัญที่สุดต้องแข็งใจงดขนมจุบจิบ ของหวาน มัน ทอด และเครื่องดื่มหวาน ๆ ให้ได้ก็จะยิ่งห่างไกลจากไขมันเกาะตับได้มากขึ้น

(3) หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

วิธีนี้อาจจะไม่ยาก หากเราไม่ได้ติดแอลกอฮอล์ หรืออยากดื่มเป็นประจำ แต่ผู้รักการดื่มก็อาจจะเป็นวิธีที่วัดความอดทนของจิตใจเป็นอย่างยิ่ง ที่จำเป็นต้องหลีกเลี่ยงเลยก็เพราะเมือแอลกอฮอล์เข้าสู่ร่างกาย จะกลายเป็นสารพิษและสารอนุมูลอิสระ ทำให้ตับอักเสบและทำร้ายเซลล์ให้เสียหาย จึงมีโอกาสอย่างมากที่จะเป็นไขมันพอกตับเรื้อรัง หรือตับอักเสบจนไปสู่การเป็นตับแข็ง

แต่หากจนแล้วจนรอดอดดื่มไม่ไหว แนะนำให้หาตัวช่วยในการล้างพิษออกจากตับ เพื่อชะลอความเสื่อมโทรมของสุขภาพตับ จากพฤติกรรมที่ทำร้ายตับโดยตรง อย่างพรูนัส มูเม่ หรือวิตามินอี เป็นต้น

(4) ทานตัวช่วยบำรุงที่ได้มาตรฐาน

อีกหนึ่งวิธีที่เรียกได้ว่าง่ายกว่าวิธีอื่น ๆ คือการหาตัวช่วยบำรุงตับ ซึ่งอาจจะมีอยู่มากมายในท้องตลาด แต่ด้วยความที่อาหารเสริมบำรุงเหล่านี้มีให้เลือกเยอะแยะไปหมด จึงจำเป็นต้องพิถีพิถันใส่ใจในการเลือกให้ดีเพราะจากที่ตับเราจะฟื้นฟู มีสุขภาพตับดีขึ้น จะกลายเป็นทำร้ายตับได้แทน โดยปัจจัยสำคัญที่ต้องพิจารณา คือ

ต้องผลิตจากวัตถุดิบที่ช่วยลดไขมันที่แทรกอยู่ในตับได้ หรือเป็นสารสกัดจากธรรมชาติที่ช่วยบำรุงฟื้นฟูตับ ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ พร้อมทั้งมีมาตรฐานในการผลิตที่เชื่อถือได้ เพื่อไม่ให้ทิ้งสารตกค้างในร่างกาย หรือสร้างภาระให้ตับเพิ่มขึ้นแทน
มีงานวิจัยทางการแพทย์รองรับว่าเห็นผลได้จริง และงานวิจัยนั้นต้องมีความน่าเชื่อถือในระดับสากล
✓ ปริมาณที่ทานต่อวันไม่จำเป็นต้องทานเยอะ แต่ร่างกายดูดซึมไปใช้ได้อย่างเต็มที่
✓ ทานต่อเนื่องได้ปลอดภัย โดยไม่เกิดผลข้างเคียงที่อันตรายต่อร่างกาย

สรุป

ไขมันพอกตับ ถือเป็นภัยเงียบที่น่ากลัว เพราะกว่าจะแสดงอาการที่ชัดเจนให้เรารู้ก็อยู่ในขั้นภาวะรุนแรง ในช่วงเป็นตับแข็ง หรือมะเร็งตับไปเสียแล้ว.. สิ่งสำคัญคือเริ่มพฤติกรรมบำรุงตับด้วยตัวเองตั้งแต่วันนี้ เลือกทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพอย่างผัก ผลไม้ที่มีกากใย พรูนัส มูเม่ หรืออาหารที่ไม่มีไขมันสูง พร้อมหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่จะทำร้ายตับเราให้ได้มากที่สุด

รวมถึงหันใส่ใจสุขภาพ “ตับ” อวัยวะปิดทองหลังพระที่คุณมองไม่เห็น แต่มันก็คอยทำทุกอย่างให้คุณ ทั้งคอยสร้าง คอยซ่อม ควบคุม เก็บกัก และ ขับของเสีย ออกจากร่างกาย

ตับดี=สุขภาพโดยรวมที่ดี ยิ่งรู้ตัวเร็วและดูแลตับได้ไวเท่าไหร่ ก็ห่างไกลจากโรคร้ายที่คร่าชีวิตเราได้มากขึ้นเท่านั้น และนี่คือสิ่งดี ๆ ที่อยากบอกต่อสำหรับผู้ที่สนใจดูแลตับ คุณสามารถขอคำปรึกษาปัญหาสุขภาพกันได้ฟรี ๆ ที่ Fanpage และ Line@ ของเฮฟฟีก้า ซึ่งจะมีทีมผู้เชี่ยวชาญและเภสัชกรคอยให้คำแนะนำที่มีประโยชน์ ให้ตับเรามีสุขภาพแข็งแรงอยู่สม่ำเสมอ